เทรนด์และแง่มุมด้าน Security จากงาน Global Azure 2023 Thailand

ThaiCySec
8 min readMay 14, 2023

--

งานรวมฮิตพาร์ทเนอร์ เทพ MVP และทีมกูรูจากไมโครซอฟท์ที่มาแชร์กระแสหลักทั้งปัจจุบันและอนาคตเกี่ยวกับคลาวด์ดาวรุ่งอย่าง Azure ที่จัดกันปีละครั้ง ทั่วโลก และแน่นอนมีจัดที่ไทยด้วยเมื่อวานเอง วันที่ 13 เมษายน ที่ชั้น 38 ออลซีซั่นตึกกลาง (CRC) สำนักงาน Microsoft Thailand นั่นเอง

คงจะนึกแปลกใจใช่ไหมคะว่าทำไมเราผู้อยู่กับสาย Security ถึงสนใจงานยำใหญ่ใส่สารพัด วางจานจัดหลายเหลือตรา รวมมิตรแบบนี้

ก็เพราะมีเซสชั่นความปลอดภัยทางไซเบอร์โดยเฉพาะถึง 2 รายการ ทั้งเรื่อง Security Operation “in Action” (สังเกตคำว่าอินแอคชั่น และสังเกตหลายเซสชั่นวันนั้นก็ต้องมีเดโม่ สาธิตเปิดของจริง ไม่ว่าโชว์สดหรืออัดวิดีโอมาด้วย เหมือนเป็นเกณฑ์ภาคบังคับ) กับเรื่อง MS Sentinel ที่โคตรเซอร์ไพรซ์มากค่ะ นึกว่าเอาเรื่องที่รู้อยู่แล้วมาเล่า แต่กลับเดโม่โชว์ Red Team / Penetration Test ซะงั้น 555

แล้วทุกเซสชั่นสังเกตว่าเป็นเทรนด์ใหม่ที่ สาย Security ก็ควรเกาะติดทำความรู้จักก่อนตกกระป๋อง นึกภาพ จะมานั่งอยู่กับคอมมานด์ไลน์ กับลีนุกซ์ไปเรื่อยๆ เอะอะ nmap บ้างอะไรบ้าง ขณะที่ชาวบ้านขึ้นคลาวด์ใช้คอนเทนเนอร์ Kubernetes กันหมด ยังไม่พูดถึงสารพัด AI เลย แล้วถ้าไม่ขยับ เราจะไปทำงานในโลกความเป็นจริง ในอนาคตอันใกล้กันได้อย่างไรใช่ไหมคะ!

สรุปรายการเซสชั่นเมื่อวาน อัดแน่นสุดๆ เลยค่ะ สมองบวมกันเลยทีเดียว แค่ที่เกี่ยวกับ Cybersecurity โดยตรงก็ปาไปสองเซสชั่นแล้ว

เห็นมีหลายท่านทำโน้ตสรุปย่อลงบล็อกกันไว้แล้ว เราจะไม่ซ้ำ 555 เราจะเป็นการคอมเมนท์ความเห็นส่วนตัวฟีล In My Humbly Opinion (IMHO) เชิงวิเคราะห์ง่ายๆ สไตล์อ่านเพื่อความบันเทิงที่เราถนัดแทน

(จริงๆ ก็คือก็อปจากโพสในเพจ fb.com/thaicysec ที่รัวๆ เมื่อวานมารวมกันในบล็อกเดียวเอาเรตติ้งค่ะ พูดกงๆ 🤣)

เซสชั่นแรกจากสปอนเซอร์ใหญ่ของงาน AIS Business ที่มาสอนว่า Azure Arc คือโซลูชั่นที่ดึงเอาคอมโพเนนท์นอก Azure ไม่ว่าอยู่ฝั่ง On-Prem หรือคลาวด์เพื่อนบ้านทั้งหลายขึ้นมาโผล่เป็น Resource ให้เราจัดการได้เหมือนอยู่บน Azure

แน่นอนสายเราก็จะคุ้นกว่าฟีเจอร์ Cloud Security Posture Management “Premium” (แบบเสียตังค์ ที่ล่าสุดเห็นยืดเวลาทดลองใช้ฟรีไปอีกนิดส์) ของ Defender for Cloud > Security Posture ที่เราสามารถแอด Environment คลาวด์เพื่อนบ้านอีกสองเจ้า (บอกชื่อได้เนอะ ก็โชว์ในหน้าแอดมินหรา) อย่าง AWS และ Google Cloud

ที่จริงๆ ถ้าแค่ Posture โดยรวม มันก็ไม่ต้องใช้ Arc แต่ถ้าจะเจาะไปถึง Cloud Workload Protection (CWP) อย่าง VM DB หรือรีซอร์สย่อย ก็ต้องลงเอเจนต์ฟีลเอาเป็น Azure Arc-Enabled Servers / Services แล้วแต่ประเภทรีซอร์สแทน จะได้ฟีลเหมือนใช้ MDE ส่อง log จากเอนด์พอยต์ แต่ทำได้บน Defender for Cloud เพราะเป็นรีซอร์สแบบมัลติคลาวด์นั่นแล

หน้า Security Posture บน Defender for Cloud ที่ส่องของคลาวด์เพื่อนบ้านได้ ถ้าอยากแอดแค่ข้อมูล “Posture” ก็แอดง่ายๆ ที่เมนู Environment Setting (จริงๆ ยังไม่รู้สึกง่าย เพราะชั้นก็ยังทำไม่ผ่านสักเจ้า 55)
หน้า Environment Settings ที่ไว้แอดคลาวด์เพื่อนบ้าน จริงๆ ทั้ง Posture โดยรวม และรีซอร์สที่ต้องใช้ Arc ก็แอดตรงนี้เหมือนกัน สังเกต GitHub/DevOps ข้างล่าง จะเป็นเรื่อง Defender for DevOps
ถ้าใช้ CWP กับคลาวด์เพื่อนบ้าน จริงๆ ก็มีทั้งแบบ Agentless กับแบบที่ต้องลง Azure Arc Agent แบบนี้

และทั้งการใช้ฮาร์ดแวร์ตัวเองรันเซอร์วิส Azure แบบ Stack HCI หรือใช้บริการเซิร์ฟเวอร์ของ MSP ในไทยอย่าง AIS Cloud X ก็จะได้ความซูเวียริตี้ ป้องกันศาลต่างประเทศสั่งเปิดเผยข้อมูลที่เราไปฝากประเทศเค้าไว้ได้นะคะ

พอเห็นคำว่า Security แล้วหูผึ่งทันทีเลยค่ะ บอกแล้วกระแสตอนนี้มีเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ทุกเซสชั่นแหละ
ชอบการยกตัวอย่างเรื่อง Sovereignty แบบศาลประเทศที่ข้อมูลไปฝากไว้สั่งให้เปิดก็ต้องเปิด งี้แล้วเธออยากฝากชีวิตไว้กับคลาวด์รีเจี้ยนอื่นเหรอคะ เก็บในไทยกับ MSP ดีๆ อย่าง AIS ไหม 555+

ต่อๆ

พี่โอมมาแน่นๆ เหมือนเดิม ใจดีสปอนของว่างผลไม้เค้กช็อคหน้านิ่มนวลยั่วยวนอร่อยมากค่ะ กราบ 🙇‍♂️🙇‍♀️

พี่โอมต้องเป็นคอมมานด์ไลน์เลิฟเวอร์แน่ๆ เลยค่ะ น้องตาลายมากเลย

✅ ดู velero backup k8s namespace
✅✅✅ ดูวิธีเจน Service Account / ผูก Token / กำหนด RBAC ให้ velero ค่ะ 😌
ชอบการเดโม่ด้วยคอมมานด์ไลน์ออล เทคนิคก็อปโป๊ะแก้โทเค่น/ไอดีบนโน้ตแพต พร้อมบอกให้ยูไปทำผ่าน Terraform แทนเพื่อประหยัดเวลาค่ะ ตอนแรกนึกว่าจะบอกให้ตั้งผ่านหน้าเว็บ Azure Portal แทน cmd 😌😌😌

(อยากดูวิดีโอเดโม่ ไปดูในเพจนะคะ คริๆ)

อาจารย์ตี๋ เริ่มที่ทฤษฎีแน่นๆ ตามสไตล์เลยค่ะ สอนแบบ A-Z ใครเอนทรี่เลเวลฟังแล้วแน่นกลับมาแน่นอน

ชอบความแม่นทฤษฎี ความสรรหาแผนภาพ และต่อเนื่องเข้าเดโม่แบบเนียนกริบของอาจารย์ตี๋ ITGeist (เพิ่งรู้ว่าอ่านว่าไกส์ อ่านกีแอสมาตลอด😌) ค่ะ ยิ่งปิดท้ายด้วย OpenAI GPT3 connector + Playbook add comment about MITRE technique to Sentinel Incident อย่างสวยงาม

ชอบการเปรียบเทียบ CSPM เป็นวิศวกรตรวจบ้าน เป็นของฟรีตัวแรกที่ควรใช้ก่อนเลือกว่าจะซื้อ/ติดตั้งเซอร์วิสความปลอดภัยอะไรบ้าง

อยากลองฟีเจอร์ใหม่หน่อย แต่เหมือนพลาดไปกดอะไรที่ต้องเสียเงินเพิ่ม หรือเปล่า 😌
อ่ะ ก็ยังพอใช้ได้บ้างอะไรบ้าง 55555

ชอบการพรีเซนต์ Cloud Security Explorer ฟีล Threat Hunting ของ MDE แต่เน้นการเลือกฟิลเตอร์ง่ายๆ ต่อออกมาเรื่อยๆ แทนแต่ง KQL งงๆ เอง (MDE ก็มี😌)
แม่นความรู้ MS Sec มาก แบบโดนถามเรื่องผูกข้อมูล OWASP กับ Sentinel ยังไง ก็ตอบได้เลยว่าดึงข้อมูลจาก WAF สิ

ชอบอ่ะ แอบสนคอร์ส Defender for Cloud อาจารย์ที่กำลังโปรโมทด้วย ที่แซวว่า MS Learn มีให้อ่านกะจิดเดียว (ก็จริง 😌😌) คือจะได้พื้นฐานแน่นสุดอะไรสุดค่ะ ❤️ (โปรโมทคอร์สให้แกหน่อย)

นี่พยายามหาแผนภาพไมโครซอฟท์ที่แกโชว์เอามาไล่โปะค่ะ เพราะเป็นโพยได้ว่า อยากกันตรงนั้นใช้อะไร …แต่หายังไงก็ไม่ครบไม่เจอ ไม่หาเก่งเหมือนอาจารย์ค่ะ 55

มาเซสชั่นถัดไปกับเทพพล AI จากเพจ Next Flow กัน แอบแซวว่าช่วงนี้งานชุกนะคะ โปรโมท OpenAI กันสุดมากทั่วราชอาณาจักร

ชอบความสไลด์คำแคชชี่ ชัดๆ ฟีลสตีฟจ็อบ

ชอบความ best practice = วิธีประหยัด วิถีแม่บ้าน

ความไม่ต้องใช้ของแรง ถ้ามันแพงเกิน

ความพร้อมพ์ไม่ยาว ไม่พล่าม เปลืองค่าโทเค่น

เค้าถึงต้องเรียน Prompt Engineering วิธีพิมพ์พร้อมพ์ให้เปลืองน้อยสุดอะไรสุด ซึ่งพี่พล Next Flow มีคอร์สสอนใช้ OpenAI แบบฟรีๆ ด้วยนะเคอะ ไปสแกนคิวอาร์ภาพสุดท้ายกันได้

ใดๆ คือการขอลงทะเบียนเปิดใช้ Azure OpenAI aka.ms/oai/access น้านนน…

…ดูไม่เป็นมิตรกับนักศึกษา บุคคลทั่วไปทดลองใช้กันเองแบบดิชั้นเท่าไรนะคะ

“ชั้น” อยาก ได้ แบบ นี้ (กับงบแค่นี้) โคตรปังเลยค่ะ
อยากเรียนคอร์สฟรีกับพี่พล หยิบมือถือมาสแกน หรือเข้าไปที่ https://bit.ly/nextflow-learn-azure-openai-service-101

แต่อย่างว่า

ตอนนี้ Azure OpenAI Service ยังเปิดให้เฉพาะองค์กรธุรกิจหรือ Microsoft MVP ใช้งานครับผม 😅 — คุณช้างกล่าว

ก็ว่าไม่ได้ ฟีลตอนอาจารย์ตี๋โชว์เอา Playbook + GPT มาเมนท์ใต้ Incident ก็เก๋อยู่นะ ต้องหาวิธีลอง ใช้เบอร์บ้านโมเมเป็นเบอร์บริษัทก็เอาเถอะ 555

มาต่อกันภาคบ่ายค่ะ…

Dev(Sec)Ops “as-a-Service” รองรับ MultiCloud ของ SCB TechX
👉🏻 Self-Service Portal

(ตั้งชื่อซะนึกถึง Self-Service Password Reset; SSPR เลยค่ะ)

ตอนแรกลุ้นว่าขาย หรือเปิดให้คนทั่วไปใช้ไหม 😌

ชอบคติว่า เม็ดโถ Dev(Sec)Ops ใช้ได้ ใช้ดี แต่ได้แค่ “ชั่วคราว”

ฟีลเปลี่ยนจากทีมมนุษย์ เป็นระบบอัตโนมัติ เป็นหน้าแอดมินกลางที่ต่อกับทุกโปรดักส์ ทุกไปป์ไลน์ ทุกคลาวด์ ฟีลซิงเกิล pain เอ้ย pane of glass

ฟีลเขียนเองใช้เอง ช่วยประหยัดเวลาจากกระบวนการ DevOps เดิมๆ ได้มากที่สุด จากหลายวันเป็นแค่ไม่กี่วินาที

ชอบการมีฟีลขอ Just-In-Time (JIT) Access สไตล์ PIM ของ AAD เราพร้อมเมลแจ้ง

หรือเมลแจ้งผลสแกนช่องโหว่อิมเมจบ้างอะไรบ้าง

สนับสนุนให้ทำขายค่ะ!

แอบอวดงานเสริมตัวเองสมัยก่อนหน่อย 5555555555555

ดูหรูกว่าสมัยชั้นแต่งหน้าเว็บ ClearOS สวยๆ เปลี่ยนโลโก้แบ๊กกราวด์บ้างอะไรบ้าง ทำเมนูที่เป็นแค่การสั่งคอมมานด์ไลน์สั่งสคริปต์แอดมินระบบดิสก์เลสร้านเกมง่ายๆ ตอนนั้นยังขายได้เป็นสิบๆ ร้านเลยค่ะ 😌

AI ไม่ได้มีแค่ OpenAI GPT / LLM / Generative AI ที่เห่อกันตอนนี้นะคะ
หลายธุรกิจใช้ AI/ML (และใช้จนรวย) มาหลายปีแล้ว 🤩

ชั้นในฐานะบิซิเนส ก็จะชอบเซสชั่นยูสเคส AI สำหรับบิซิเนสแบบนี้เป็นพิเศษ จากพี่โกเมศ Data Science Thailand ที่แนะนำให้กดเพจเพื่ออัพเดทยูสเคส ตัวอย่างความรวย #รีวิวคนรวย เพราะ AI ทั่วโลก

เอาจริง บอสเพิ่งสั่งมาเลยค่ะว่าอยากได้แชทบอทสไตล์เป็นพนักงานขาย SA ที่มีบุคลิกของแบรนด์ลักชัวรี่มีระดับ ไม่หลุดเมิงกุให้ลูกค้าต๊กกะใจ และฉลาดพอที่จะแนะนำเครื่องประดับเฟียซๆ ที่ตรงใจตรงสไตล์แต่งตัวได้อย่างรวดเร็ว ตอบเฉพาะชิ้นที่มีสต็อคอยู่ ซิงค์กับข้อมูลสต็อคเรียลไทม์

(ที่อาจจะติดต่อพาร์ทเนอร์คู่ใจ ที่เพิ่งโชว์ผลงานไลน์แชทบอทอย่างฟิวชั่นหน่อย 😌)

หรือแบบวิเคราะห์ภาพหรือไอจีแฟชั่นการแต่งกายลูกค้า แล้วแนะนำแหวนสร้อยกำไลต่างหูที่ลูกค้าสนใจที่สุดพร้อมปิดการขาย

ที่ดิชั้นบอกว่าอันนี้มี AI/ML ใช้กันมานานแล้วค่ะ แต่อาจจะต้องลงทุนตั้งแต่ Digital Transformation > Data Pipeline ไปป์ไป ML หน่อย ไม่ใช่อะไรที่จับต้องง่ายแชทง่ายสไตล์ ChatGPT 😌

ประเด็นคือ เพิ่งรู้ว่า MS ก็มีขุมทรัพย์ ขุมข้อมูล โรงเรียนสอน AI ที่ร่ำลือในวงการมานานมากแล้ว เช่น

🔥 Microsoft AI Labs microsoft.com/en-us/ai/ai-lab ตัวอย่างยูสเคส/โปรเจ็กต์ใหม่ๆ ที่จะมาประยุกต์ใช้กับเราได้
🔥 AI Business School microsoft.com/en-us/ai/ai-business-school คอร์ส AI เพื่อธุรกิจโดยเฉพาะค่ะ
🔥 30 Days of Azure AI azureaidevs.github.io/hub/roadmap/30days/ 30 วัน (แต่พี่เค้าบอกต้องสามเดือนขึ้นไปถึงอ่านหมด😌) ก็เก่ง Azure AI ได้ ด้วยโร้ดแมปที่บอกว่าวันแรกต้องอ่านอะไร ฝึกทำอะไรยังไง

พร้อมข้อคิดดีย์ๆ ว่าอยากรวยด้วย AI ตอนนี้ ก็ต้องเริ่มลองทำตั้งแต่วันนี้ (บริษัทไหนข้อมูลยังอยู่บนกระดาษ ก็แปลงมาเป็นดิจิตอลให้หมด ทำ digital transformation ก่อน) แล้วหมั่นแชร์ความรู้จะได้เข้าใจมากขึ้นเร็วขึ้นค่ะ ❤️

ปอลิง ซินแสบอกใครใช้เอไอ ปีหน้าเอไอทำให้รวยชัดเจนนะคะ แล้วซินแสไม่ได้บอกด้วยว่าใช้เอไอเฉพาะ GPT😌

พี่ฟี่มาแล้วววว กรี๊ดดดด น่าจะบินตรงจากสิงคโปร์เลยค่ะ ติดตามคลิปเคล็ดลับอัพเงิน 5 เท่าอยู่นะคะพี่ ❤️

เอาจริง ติดใจคำพูดพี่ลูฟี่ที่ว่า

อะไรที่มันอัตโนมัติได้ จงทำเป็นอัตโนมัติให้หมด

และ

“โซลูชั่นที่ดีที่สุด คือโซลูชั่นที่ปลอดภัย” — MongoDB Luffy

ชอบวลีเด็ดพี่ฟี่ค่ะ

คุยกับเซอร์วิส/API ไหน คุยผ่าน Private Endpoint กันนะคะ

(Mongo Atlas) ต้องกำหนดไอพี network access ด้วย ไม่ใช่ปล่อยใครเข้ามาหน้าแอดมินได้

พี่ฟี่บอกให้ไป fork จากรีโปเค้ามาทำแล็ป เอ รีโปอยู่ตรงไหนคะ 55 เลยใช้โอเซ้นส์ตัวเองเล็กน้อย >>

github.com/ninefyi/global-azure-thailand-2023

ใช่ค่ะ นี่คือเซสชั่นแนะนำ GitHub Codespaces github.com/codespaces และ Azure Dev (AZD) CLI

ที่ถ้าไม่มีเมลมหาลัย (รอก่อน ยังรอผลสัมภาษณ์🤣) ก็สร้างโค้ดสเปซได้แค่สองอัน ถ้าไปฟอร์กกิตพี่ฟี่ https://github.com/azure-samples/todo-nodejs-mongo (ฟอร์กมากิตหับตัวเองก่อนน้าค้า 🫣) มา Open in Codespace โดยที่สเปซตัวเองเต็มแล้ว ก็ต้องลบเคลียร์ก่อน 🥹

แล้วรันสคริปต์ลง azd ในเทอมินัลของโค้ดสเปซ (ใช่ไหมคะ 😌)

นั่นแหละค่ะ ทำตามสเต็ปในกิตหับพี่ฟี่นะคะ 555

ถือว่าเป็นการโชว์ว่าติดตั้ง azd cli บนโค้ดสเปซได้ มองโค้ดสเปซเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องนึงที่เรารีโมทเข้าไปโค้ดไปใช้ผ่านหน้าเว็บได้เลย ไม่ต้องลงโปรแกรมบนเครื่องตัวเอง

แถมยังฟอร์เวิร์ดพอร์ตมาพับลิกมาใช้งานออนไลน์ข้างนอกจริงเองได้อีก ❤️

เปิดการใช้งานโค้ดสเปซก่อนเลยค่ะ github.com/codespaces เริ่ม!
ลงเอ็กซ์เทนชั่นไพตั้นแล้วลองรันโค้ดง่ายๆ ดูค่ะ😌
หนูฟอร์กมาแล้วนะคะพี่ฟี่❤️
เริ่มแบบนี้ถูกไหมคะ 🥹

ต่อด้วยเซสชั่นสุดเซอร์ไพรซ์ค่ะ…

ไวมาก!

ไม่ได้หมายถึง Sentinel ไว แต่เธออ่ะเดโม่โคตรไว เปลี่ยนสไลด์วินาทีล่ะหน้า ตามไม่ทันค่ะ 🤣

ว่าแต่สิ่งที่น่าสนใจคือ:
✅ เดโม่ Sentinel
✅✅✅✅✅✅✅✅✅✅✅✅✅ เดโม่ฟิชชิ่งดูดเซสชั่นคุกกี้แหก MS Account ได้แม้ใช้ MFA

ชั้นถึงบอกว่ายูเร็วมาก อะไรที่น่าสนใจ (ฉบับชาวเรดทีม ชาวแหกเกอร์ 😈) ยูเดโม่เร็วฉับๆๆ เพ่งกันไม่ทันอ่ะ

เสียดายยยยย

(แต่ชั้นอัดคลิปไว้แล้ว😌ไปดูเมนท์โพสในเพจค่ะ)

นั่นล่ะค่ะท่านผู้ชม ในเมื่อ Miso Digital มีของดีขนาดนี้ ไมไม่จัดเซสชั่นเรดทีม สอนแหกคลาวด์ SaaS สวยๆ สักสองชั่วโมง แล้วตบด้วยเอาใจสปอน MS Sentinel สักห้านาทีอะไรแบบนี้ รับรองเปิดพันคนรีจิสเต็มพันค่ะ!

อันนี้ด้วยวิญญาณศิษย์พี่ทอย DataRockie วิญญาณ Data Analyst ก็จะเข้าสิงนิดๆ ถึงแม้เราไม่มีประสบการณ์ใช้ MS SQL on-prem เลย เรียนมาแต่ SQLite ก็ตาม

Pain Points การทำ ETL ที่ชาวดาต้าเจอ:
1️⃣ ถ้าทำ ETL บน PowerBI เลย (โดยเฉพาะถ้า data model ไม่โอ) จะไฟล์หนักอืดมาก ไฟล์เป็นกิ๊ก อ้วนชวนเอ๋อเหมือนเอกเซลไฟล์บักควาย
2️⃣ อยากขยับจาก On-Prem Power Query / SQL / SSIS ขึ้นคลาวด์ แต่ขึ้นแบบง่ายๆ คล้ายลิฟท์แอนด์ชิฟ อยากทำอะไรที่เคยคุ้นเคย หยั่มมาให้ใช้ของไฮโซอย่าง Synapse/DataBrick

อาจารย์เอกแอนด์ชไลเวท 9Expert Training จึงมาพรีเซนส์เซอร์วิสบนอ่ะชัวร์ไว้ทำ ETL จากข้อมูลดิบมาแปลงส่ง Analysis Service ทำโมเดลไปใช้วิเคราะห์/วิช่วลไลซ์ต่อ😳 ด้วยวิธีที่คน On-Prem “คุ้นเคย”

ก็คือ Azure Data Factory นั่นเอง

DataFactory ไว้ทำ ETL อย่างง่าย

หลักการเหมือน SSIS เป็น Flow Management ส่งข้อมูลเป็น Task ต่อ Task ถัดๆ ไปจนถึงปลายทาง

ได้ฟีล Pipeline สนุกสนานค่ะ

แต่จะมีเคสทำ ETL ที่ซับซ้อนหน่อย ที่กลัวว่า Data Factory ง่ายๆ จะไม่รองรับ ได้แก่
👉🏻 การทำ Incremental ETL แบบไม่ต้องทรานส์ฟอร์มข้อมูลทั้งก้อน ทำแค่ส่วนที่เปลี่ยนแปลงแทน
(จริงๆ ตอนนี้มี CDC — Change Data Capture บน DataFact แล้ว แต่เป็นพรีวิว)
👉🏻 การทำ SCD Type 2 — Slow Changing Dimension เวลาข้อมูลเปลี่ยนไดเมนชั่นหนึ่ง ก็จะแยกข้อมูลตามไดเมนชั่นที่แยกกันนั้นได้

CDC มาแล้วแบบ Preview ค่ะ

เช่น เซลล์เอเคยอยู่เชียงใหม่ สักพักย้ายมากรุงเทพ แต่พอเจนยอดขายกลายเป็นรวมสังกัดไดเมนชั่นเชียงใหม่ก้อนเดียว ที่จริงๆ ต้องแยกยอดตามไดเมนชั่นจับหวัดให้เราด้วยแม้เป็นเซลล์คนเดียวกัน (ชั้นเข้าใจถูกใช่ไหมคะ 😌)

รีซอร์สที่จะเทส DataFacto บน Azure ได้แก่
1️⃣ DB ต้นทาง ไว้เป็น DataLake (DL) รับ raw data (เช่น ใช้ Azure SQL)
2️⃣ Data Factory ตรงกลางไว้ทำ ETL
3️⃣ DB ปลายทางโหลดข้อมูลทรานฟอร์มมาแล้ว ไว้เป็น Warehouse (WH) เตรียมยิงส่งไป
4️⃣ Analysis Service ไว้ทำดาต้าโมเดล พร้อมยิงไป Power Bi ตั่งต่าง

แต่เราเจาะเฉพาะการใช้ DataFacto เนอะ (พาร์ท Bi ฟังไม่ทัน 😌)

สรุป สรุปวิธีทำ ETL:
1. ใช้ DataFacto ล้วน (ที่เห็นมี CDC preview แล้ว)
2. ใช้ Power Query บน DataFacto (ที่มีดีกว่าตรงที่วิวเป็น task flow เหมือนวิธีนาทีฟแบบข้อแรก)
3. ทำใน SSIS ข้างล่าง แล้วดีพลอยขึ้น DataFacto

เปิดใช้ผ่าน Subscription ฟรีเครดิตของ MCT ได้ จะรออะไรล่ะค่ะ Create เสร็จก็กด Launch เลย!

SSIS Catalog เป็น integrated service เขียนด้วย visual studio แล้ว deploy ขึ้น DataFact แต่คิดตังค์ตามเวลา/คอร์ ฟังดูแพง

เป็นเซสชั่นที่ดีค่ะ ที่น่าจะถูกใจคนเคยใช้ SQL/Power Query On-Prem ที่เราไม่ค่อยคุ้นเท่าไร เรายังเป็นชาวขุนเอกเซลไฟล์เดียวให้อ้วนๆ 😌😌😌

น้องคม เป็นคนที่คลั่งไคล้ เครซี่ Quantum มาก ซึ่งเป็นเรื่องว้าวมากค่ะ เพราะไม่เห็นคนไทยคนอื่นมาพูดเรื่องนี้

“ถ้าคิดว่าฟังเรื่องควอนตัมไม่เข้าใจ ใช่ค่ะ ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีย์” — Richard P. Feynman ไม่ได้กล่าว 😌

คือเคลิ้มๆ ไม่รู้เคลิ้มกำลังจะเข้าใจ หรือเคลิ้มเสียงนุ่มๆ ของน้อง แต่พอจะเข้าใจมันก็แบบ อืม ก็เทคโนโลยีอนาคตอ่ะเนอะ อนาคตอันไกลโพ้นนนน

ฟรีเครดิตค่าสาว!
เหมือนล่าสุดเปลี่ยนจาก IonQ เป็นของไมโครซอฟท์เองแทนค่ะ

โพ้นจน Azure มอบเครดิตให้เล่นควอนตัมสวยๆ 500 เหรียญฯ ต่อพาร์ทเนอร์ฮาร์ดแวร์ IonQ, Quantinuum, Rigetti ฟรีๆ แต่แรกเลย ไม่ต้องรีจิสอะไรก่อน

พาร์ทอินโทร จับใจความได้ว่า bit คอมพิวเตอร์ธรรมดามีค่าได้ค่าเดียว ได้แค่ 0 ไม่ก็ 1 แต่ Qubit เป็นเวกเตอร์สองมิติที่มีสองค่าพร้อมกันได้ เป็นทั้ง 0 กับ 1 พร้อมกันได้งี้
ยิ่งฟังพาร์ทหลังๆ ได้ยินแต่ คิสคิสคิสคิสคิสคิสๆๆๆ เหมือนจะตบจูบตบจูบไวไม่รู้

พอเสิร์จดู อ่อ โมดูล Qiskit ที่ใช้เขียนไพตั้นจูปิเตอร์โน้ตบุ๊กทำควอนตัมแมชชีนเลิร์นนิ่งนั่นเอง😌

จับใจความต่อได้ว่า ข้อดีของ Azure Quantum ที่เหนือคู่แข่ง:
1️⃣ เขียนโค้ดเดียว ใช้กับเครื่องควอนตัมได้ทุกเครื่องทุกแบบ แค่เปลี่ยนพารามิเตอร์บางอย่าง (ฟังไม่ทัน😌) นิดหน่อย
2️⃣ มีบริการ High-Performance Computing (HPC) ให้ใช้แทนควอนตัมด้วย คอนเซ็ปต์ #ถ้าไม่แรงก็ไม่ต้องแพงก็ได้ 😌😌

ชอบการหันมาทักทายเราว่า การใช้ควอนตัมแก้คริปโตกราฟี่อาจไม่จำเป็นแล้ว เพราะไมโครซอฟท์บุกเบิก Passwordless กันแล้ว แต่โลกใบน้อยของซินดี้นี้ไม่ได้เข้ารหัสเฉพาะพาสเวิร์ดนะคะ คีย์ HTTPS/TLS ไปไหน 🥹🤣

เอาเป็นว่า ติดตามเพจน้องคมแฝก ผู้เครซี่ควอนตัมคอมพิวติง >> Quantum Blue (ชื่อเพจโหลมากนะคะ แท๊กไม่ถูก🤣) เพื่อไม่ตกเทรนด์โลกอนาคตกันค่ะ

ถ่ายรูปหมูช่วงเที่ยงค่ะ คนจะยังเยอะหน่อย
ถ่ายหมูตอนเย็น กับผู้เหลือรอดชีวิตค่ะ 555+ ขอบคุณภาพจากอาจารย์ชไลเวท 9expert นะคะ❤️

แอบแซวทิ้งท้าย…

หัวก็จะฟูๆ หน่อยค่ะ 😌

เอาไว้มีเวลาจะมาเติมคอมเมนท์เพิ่มนะคะ (ถ้ามี 😌) ขอรีบไปเลือกตั้งก่อนนะคะ

Sarah Hansakul

#GlobalAzure

#AzureTH

--

--

ThaiCySec
ThaiCySec

Written by ThaiCySec

We will bring Thai CyberSecurity team to conquer the world! fb.com/thaicysec

No responses yet